วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้น

 
ฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้น

          โลกในยุคปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารและยุคทางด่วนข้อมูลที่ก้าวหน้ามาก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทที่สำคัญในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ผู้ที่มีข้อมูลและสามารถหาข้อมูลได้ก่อน ผู้อื่นจะได้เปรียบในทุกด้าน การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เชื่อมโยงกันทั่วโลกหรือที่เราเรียกว่าอินเทอร์เน็ต มีบทบาทที่สำคัญและ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อชีวิตประจำวันของเราหลายด้าน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นิสิตจะได้ศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการศึกษาและอื่น ๆ ต่อไปในอนาคตได้
          คำว่า อินเทอร์เน็ต มาจากคำเต็มว่า International Network หรือเขียนแบบย่อว่า Internet หมายความว่า เครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยเป็นระบบเครือข่ายของเครือข่าย (Network of Networks) ในปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่มากกว่า 60 ล้านเครื่อง มาเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน การที่คอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันหลายชนิดจำนวนมากมายทั่วโลก เชื่อมโยงกันได้ จะต้องใช้เกณฑ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อหรือโพรโทคอล (Protocol) เดียวกัน จึงจะเข้าใจกันได้ และเกณฑ์วิธีที่นำมาใช้กับการเชื่อมโยงต่ออินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีชื่อเรียกว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)
          อินเทอร์เน็ตถูกนำไปใช้งานในด้านต่าง ๆ มากมาย ทั้งในด้านสื่อสาร เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (Electronic Mail หรือ E-mail) การสนทนาผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือห้องคุย (Chat Room) ด้านแหล่งความรู้และความบันเทิง ด้านการซื้อขายสินค้าและบริการหรือเราเรียกว่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) นับวันอินเทอร์เน็ตจะยิ่งเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น การที่มีระบบอินเทอร์เน็ตช่วยให้นิสิตสามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลจากส่วนต่าง ๆ ของโลก โดยไม่จำกัดระยะทางได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การส่งข้อมูลสามารถทำได้หลายรูปแบบคือภาพ เสียง ข้อความต่าง ๆ ระบบอินเทอร์เน็ตอาศัยเทคโนโลยี โทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่าย
          ในประเทศไทยอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทุกสาขาวิชาชีพ มีสมาชิกใช้งานในระบบเชื่อมไปถึงสถานศึกษาต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ตลอดถึงประชาชนทั่วไปด้วย นอกจากนี้ทางรัฐบาลได้ผลักดันให้มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงไปถึงระดับองค์กรบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่เราเรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ตตำบล ใช้ในการเผยแพร่ผลงานและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่นเพื่อออกจำหน่ายทางอินเทอร์เน็ตด้วย

การใช้อินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้าน สามารถสรุปที่สำคัญได้ดังนี้
1) ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวก และรวดเร็ว
2) ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจ่าง ๆ ทั่วโลกได้
3) ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
4) สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5) ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฟังเพลง เล่นเกม เป็นต้น
6. ใช้สื่อสารด้วยข้อความซึ่งเป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยการพิมพ์ ข้อความโต้ตอบ
7) ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
8) ซื้อขายสินค้าและบริการ

การต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้บริการต่าง ๆ จากอินเทอร์เน็ต นิสิตสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1) การต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์โมเด็ม (MODEM) ไปยังไอเอสพีที่นิสิต เป็นสมาชิกอยู่ โมเด็มคืออุปกรณ์แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ ดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนะล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง และขณะเดียวกันยังสามารถแปลงสัญญาณแอนะล็อกกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลได้ โดยปกตินิสิตสามารถใช้วิธีนี้ติดต่อจากที่บ้านหรือที่ทำงานที่ไม่มีระบบเครือข่ายเชื่อมโยงถึง ความเร็วของการติดต่อขึ้นอยู่กับโมเด็ม

2) การต่อผ่านเครือข่ายแลน วิธีนี้จะสะดวกมากกว่าวิธีอื่น การรับส่งข้อมูลมีความเร็วสูง นิยมใช้ในหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ใช้งานได้พร้อมกันครั้งละหลาย ๆ คน โดยหน่วยงานเหล่านั้นจะต้องมีการเชื่อมอินเทอร์เน็ตผ่านสายสัญญาณใยแก้วนำแสงหรือสายวงจรเช่า (Leased Line) กับไอเอสพี

การให้บริการอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบและมีการเปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา สามารถสรุปที่มีการใช้ประโยชน์มากที่สุด ดังต่อไปนี้
1) การให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ www) เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลก ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นสามารถอยู่ในหลายรูปแบบแตกต่างกัน เช่น เอกสาร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้นได้ง่าย

2) การให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นบริการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล ซึ่งจดหมายเหล่านี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับ ไม่ว่าอยู่ที่ใดในโลกอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที จดหมายที่ส่งจะเป็นข้อมูล เอกสาร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง

3) การแลกเปลี่ยนข่าวสารแบบกลุ่ม (Usenet Newsgroup) เป็นบริการที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้สนใจในเรื่องเดียวกัน สามารถอภิปรายโต้ตอบกันได้ มีการจัดหัวข้อให้แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่ม ๆ เช่น กลุ่มผู้สนใจด้าน สิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้สนใจด้านคอมพิวเตอร์ กลุ่มผู้สนใจด้านการเมือง และอื่น ๆ ทุกคนจากทั่วโลกสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง

4) การซื้อขายสินค้าและบริการ (Electronic Commerce หรือ E-Commerce) เป็นบริการที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต เป็นธุรกิจที่นิยมมากในปัจจุบัน สามารถให้การบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถสืบค้นหาของที่ตนต้องการซื้อ ตรวจสอบราคา รวมถึงรายละเอียดและการสั่งซื้อได้โดยตรงจากที่บ้านหรือสำนักงาน

5) การบริการการโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol หรือ FTP) เป็นบริการโอนถ่ายข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลก นำลงมาเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ของนิสิตนักศึกษา ทำให้สามารถนำข้อมูลหรือโปรแกรมที่ต้องการจากเครือข่ายมาใช้งานได้

6) การสื่อสารโต้ตอบด้วยข้อความ (Internet Relay Chat หรือ IRC) เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในส่วนต่างของโลก สามารถติดต่อพูดคุย โต้ตอบด้วยข้อความผ่านระบบอินเทอร์เน็ต นิสิตนักศึกษาสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบระหว่างบุคคล 2 คน หรือเป็นกลุ่มบุคคลพร้อมกันก็ได้ เป็นการโต้ตอบในเวลาเดียวกันขณะนั่งทำงานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นที่นิยมมากในกลุ่มวัยรุ่น โปรแกรมที่ใช้ที่นิยมกันมากในขณะนี้ ได้แก่ โปรแกรมไอซีคิว (ICQ)

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ www) เป็นบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ต ใช้ในการให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยมีการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูล เราจะเรียกว่าเครื่องบริการเว็บ (Web Server) เพื่อให้บริการข้อมูลแก่ ผู้ต้องการ รูปแบบของข้อมูลจะถูกนำเสนอผ่านโปรแกรมค้นดู ที่เรียกว่า เบราว์เซอร์ (Browser) หรือเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) แสดงเป็นหน้ากระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า เว็บเพจ (Web Page) ข้อมูลที่อยู่ในเว็บเพจสามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นด้วยวิธีเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) หน้าแรกของเว็บเพจ เรียกว่า โฮมเพจ (Home Page)















รูปที่ 2 แสดงหน้าโฮมเพจของมหาวิทยาลัยนเรศวร (ที่มา http://www.nu.ac.th/)

ก่อนเข้าไปดูข้อมูลที่เว็บเพจต่าง ๆ นิสิตต้องรู้ชื่อที่อยู่เว็บหรือเว็บไซต์ (Web Site) นั้นก่อน ที่อยู่ของเว็บไซต์คือตัวคอมพิวเตอร์บริการเว็บที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ ที่อยู่นี้จะถูกเรียกว่า ยูอาร์แอล (Universal Resource Locator: URL) แต่ละแห่งจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน เมื่อทราบชื่อยูอาร์แอลก็สามารถเข้าไปค้นข้อมูลได้ เช่น ถ้านิสิตต้องการดูข้อมูลต่าง ๆ ในเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ นิสิตต้องทราบว่ายูอาร์แอลของกระทรวงศึกษาธิการคือ http://www.moe.go.th/













รูปที่ 3 แสดงการพิมพ์ชื่อ ยูอาร์แอล (URL) เพื่อสืบค้นข้อมูล (ที่มา http://www.moe.go.th/)

การใช้บริการข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ จะต้องทำการติดตั้งโปรแกรมค้นดูหรือเว็บเบราว์เซอร์ เพื่อเรียกดูข้อมูลที่ต้องการ เว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมใช้กันแพร่หลายมี 2 โปรแกรม คือ โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer หรือไออี (IE)) พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ และเน็ตสเคปคอมมิวนิเคเตอร์ (Netscape Communicator) พัฒนาโดยบริษัทเน็ตสเคปคอมมิวนิเคชัน ดังแสดงรูปหน้าต่างโปรแกรมใน รูปที่ 4 และรูปที่ 5













รูปที่ 4 แสดง หน้าต่างโปรแกรมเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์













รูปที่ 5 แสดงหน้าต่างโปรแกรมเบราว์เซอร์เน็ตสเคปคอมมิวนิเคเตอร์

การสืบค้นเพื่อหาข้อมูลหรือบริการที่ต้องการในเวิลด์ไวด์เว็บ สามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่ามีความรู้ในการใช้อินเทอร์เน็ตและการใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์มากน้อยขนาดไหน เนื่องจากปริมาณข้อมูลที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตกระจายอยู่ทั่วโลกเป็นจำนวนมาก เราไม่สามารถใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์เปิดอ่านข้อมูลจากเว็บเพจต่าง ๆ โดยไม่ได้คัดกรองเสียก่อนได้ เนื่องจากจะไม่ได้ข้อมูลที่ต้องการอย่างรวดเร็ว หรืออาจหาข้อมูลที่ต้องการไม่พบ จึงมีการพัฒนาเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลแล้วรวบรวมข้อมูลรายชื่อเว็บไซต์และจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่หรือคำหลัก (Keyword) เพื่อง่ายต่อการสืบค้น เมื่อเราทราบหมวดหมู่หรือคำหลักก็สามารถเข้าไปดูข้อมูลที่ต้องการได้ จึงเป็นที่นิยมกันมาก
ขั้นตอนการสืบค้นข้อมูลอาจดำเนินการได้ตามวิธีการ ดังนี้
1) การใช้ยูอาร์แอล (URL) เพื่อสืบค้น ในกรณีนี้ผู้สืบค้นต้องทราบมาก่อนว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่เว็บไซต์ใดก็เข้าสู่เว็บไซต์นั้น เช่น เว็บไซต์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาไทยของศูนย์เทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (เน็คเทค) ถ้าต้องการข้อมูล สามารถใช้ ยูอาร์แอล ดังนี้ http://www.nectec.or.th/













รูปที่ 6 แสดงตัวอย่างการค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ที่รู้ชื่อยูอาร์แอล

2) การใช้เครื่องมือช่วยสืบค้น ในกรณีที่ไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลอยู่ที่ใด เราสามารถใช้เครื่องมือช่วยในการสืบค้นได้ โดยกำหนดกลุ่มข้อมูลหรือคำหลักที่ต้องการในการสืบค้น เครื่องมือในการสืบค้นเป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน มีอยู่ 2 ประเภท คือ โปรแกรมช่วยค้นหาและโปรแกรมค้นหาสารบบ

ที่มา http://www.edu.nu.ac.th/supanees/lesson/366515/unit1_p04.html

การฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ฝึกปฏิบัติการเรื่องต่อไปนี้
- สร้างความคุ้นเคยกับพังก์ชันต่าง ๆ ของ Internet Explorer
- การใช้งาน Search Engine ในการสืบค้นข้อมูล
- การใช้งาน E-Book
- จาก Scenario ที่กำหนด ให้ทำการออกแบบเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้สำหรับองค์กรให้ทำการค้นหาจาก Internetข้อมูลการตัดสินในควรประกอบด้วย
* รายละเอียด ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น RAM, Hard disk และอื่น ๆ
* ให้ทำการเปรียบเทียบราคาด้วย
. มอบหมาย Coursework Assignment
· การใช้งาน System Softwareo Doso Windows
· การสร้าง Webpage ด้วย Application Software
· การออกแบบและตกแต่งตัวอักษรและรูปภาพด้วย Application Software
- ให้ออกแบบตารางเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล โดยใช้ MS Word
- ให้ทำการสร้างตารางที่ได้ทำการออกแบบไว้โดยใช้ MS Accessการ Upload ข้อมูลขึ้นสู่ Web
-Serverการใช้งาน FTP สำหรับการดาวน์โหลดข้อมูลการ Share ข้อมูลบนระบบเครือข่ายการดูแลความปลอดภัยบนระบบเครือข่ายขั้นพื้นฐาน

ที่มา http://comm-sci.pn.psu.ac.th/commsciweb/couse_outline/CA/870221.doc

กลับไปหน้าหลัก ครูเล็ก